วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิตามินที่จำเป็นต่อสุขภาพ ที่เราควรรู้



วิตามินเอ
วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันกานติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง

ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา

วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A)หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมาในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

ประโยชน์
ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

แหล่งวิตามินเอ
ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามิน
ได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ
โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้
ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน
แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู
อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเผลียและอาเจียนได้
เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป


วิตามินบี1
วิตามินบี1 หรือ Thiamin เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องรัปประทานอาหารหรืออาหารเสริม มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้าง ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาทันที

ประโยชน์
จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจและกล้ามเนื้อ
ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
ช่วยแก้อาการเมาคลื่นและเมาอากาศ
ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัดให้หายเร็วขึ้น

วิตามินบี2
ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระแกรน จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมตาบอลิสมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตูให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา

วิตามินบี3
วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน (Niacin) สามารถต่อสู้กับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นจำนวนมาก

ประโยชน์
ช่วยทำลายพิษหรือท็อกซินจากมลพิษ แอลกอฮอล์และยาเสพติด
รักษาโรคทางจิตและโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
ช่วยให้อาการต่างๆ ของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น
ช่วยรักษาโรคปวดหัวไมเกรน
ช่วยบรรเทาโรคอาร์ไทรทิสหรือข้ออักเสบ
ช่วยกระตุ้นและแก้ไขความบกพร่องทางเพศ
ช่วยลดความดันโลหิตสูงประจำ

วิตามินบี
5
วิตามินบี5 หรือ Pantothenic Acid เป็นวิตามินในการสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยบำรุงระบบประสาท
ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี5 อย่างน้อย 200 มิลลิกรัม

ประโยชน์
ช่วยสร้างแอนติบอดีซึ่งเป็นตัวสำคัญของภูมิชีวิต
เมื่อร่างกายเปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นน้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน วิตามินบี5 จะเป็นตัวสำคัญในการเปลี่ยนไขมันเป็นน้ำตาล
ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
ช่วยให้ร่างกายหายจากการช็อกหลังการผ่าตัดใหญ่
ช่วนให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น

วิตามินบี6


วิตามินบี6 หรือ Pyridoxine เป็นวิตามินที่มักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม

ประโยชน์
ช่วยเปลี่ยนกรดอมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตใด้ดียิ่งขึ้น
ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ

วิตามินบี
12
วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ให้ระวังการดูดซึมของบี12 สู่ร่างกายจะบกพร่องและเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ควรกินวิตามินชนิดนี้ควบกับแคลเซียมจะทำให้การดูดซึมสู่ร่างกายดีขึ้น
ประโยชน์
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร
ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดีและมีสมาธิ


วิตามินซี
วิตามินซี เป็นวิตามินที่ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

ประโยชน์
เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ช่วยคลายเครี่ยด

แหล่งวิตามินซี
แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก

ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอยู่ตรงที่เมื่อนำออกมาวางในอุณหภูมิปกติแล้ว ออกซิเจนในอากาศจะทำให้วิตามินซีสลายตัวเร็ว

ปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องกันอยู่ที่วันละ 60-90 มิลลิกรัม

อันตรายจากการขาดวิตามินซี
ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย
เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้

อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป
เกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
นิ่วในไต การได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้


วิตามินดี
วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำอาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก

วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด

ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน

ข้อมูลทั่วไป
วิตามินดี จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไปแล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และโดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดแล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหารจะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทางจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้
วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

คุณสมบัติ
-
วิตามินดีที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต - ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี


ชนิดของวิตามินดี
วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดยฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ

วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนมิเตอร์ (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนมิเตอร์ (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7- ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็กแล้วส่งผ่านไปยังผิวหนัง

จำนวนวิตามินดีที่เกิดขึ้นนี้ขึ้นกับสิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ
-
จำนวนแสง U.V. จากแสงแดดตอนเช้า ฤดูอาจได้ไม่ถึง 1 ชม. ฤดูร้อนกลางวัน อาจได้แสงถึง 4 ชม. - แสง U.V. นี้ไม่สามารถผ่านหมอกควัน ฝุ่นละออง กระจก หน้าต่าง ม่านกั้นประตูหน้าต่าง เสื้อผ้าและสีของผิวหนัง ( melanin) จากการศึกษา ปริมาณของ วิตามินดีในเลือดที่ได้จากการสังเคราะห์จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาลในฤดูร้อนความเข้มข้น ของ วิตามินดีในเลือดจะสูงกว่าในฤดูหนาว


ประโยชน์ต่อร่างกาย
วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก
วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ถ้าขาดวิตามินดี กรดอะมิโนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น ถ้าวิตามินดีเพียงพออัตราการดูดซึมกลับกรดอะมิโนจะปกติ และในปัสสาวะจะลดปริมาณลง
ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย แบบ active transport ของแคลเซียมให้ข้ามเซลล์ไปได้ง่าย
ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอันตราย เช่น แคลเซียมจะต้องอยู่ในเลือดประมาณ 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยวิตามิน ดีจะกระตุ้นการดูดแคลเซียมในลำไส้เพราะมิฉะนั้นแคลเซียมจะถูกขับออกจากร่างกายไปหมด และวิตามิน ดี จะกระตุ้นการนำเอาฟอสฟอรัสมาใช้ โดยทำหน้าที่กระตุ้นตลอดเวลา
เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย
ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน
เกี่ยวข้องกับการใช้คาร์โบไฮเดรต
เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกาย
หน้าที่โดยทางอ้อมก็คือ วิตามินดีจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เพราะหน้าที่เหล่านี้จะสัมพันธ์กับการมีอยู่และการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัส ของร่างกาย

แหล่งที่พบ
พบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมากในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแม็คเคอร์เรก
นมเป็นอาหารที่นิยมเสริมวิตามินดี เพราะเป็นอาหารที่มี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไขมัน ที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมจากลำไส้เล็ก ปริมาวิตามินดีที่เสริม คือ 400 IU ต่อลิตร
ปริมาณของวิตามินดีในอาหารอาจเปลี่ยนแปลงได้มากตามฤดูกาล และภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น การถูกแสงแดดมากหรือน้อย อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีวิตามินดีมากหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น

ปริมาณที่แนะนำ
ในการที่บุคคลต่าง ๆ ควรได้รับปริมาณวิตามิน ดี มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ไขมันในอาหาร การสร้างน้ำดีจากตับ การดูดซึมของระบบทางเดินอาหาร ความบ่อยครั้งในการถูกแสงแดดและขึ้นอยู่กับปริมาณของสารมีสี และ เคราตินที่มีอยู่ที่ผิวหนัง ถ้าผิวขาวมีสารมีสีน้อย แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านเข้าไปในชั้น Granulosum ของผิวหนังได้มาก ทำให้ 7 - dehydrocholesterol ซึ่งมีอยู่มากในชั้นนี้ถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน ดี สามได้มาก ถ้าผิวเหลืองเนื่องจากมีเคราตินมากหรือผิวดำเพราะมีสารมีสีมาก แสงอัลตราไวโอเลตจะผ่านเข้าไปได้น้อยทำให้มีการสังเคราะห์วิตามิน ดีสามที่ผิวหนังน้อย
วิตามิน ดี 2.5 ไมโครกรัม (100 ไอยู) สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนและช่วยให้มีการดูดซึมของแคลเซียมในลำไส้อย่างเพียงพอสำหรับการสร้างความเจริญเติบโตของกระดูกและฟันในทารก แต่การกินวันละ 10 ไมโครกรัม (400 ไอยู) นั้นช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้ดียิ่งขึ้น

ผลของการได้รับมากไป
พบในรายที่บริโภค 300,000 - 800,000 I.U ต่อวันเป็นระยะเวลานาน วิตามิน ดี ประมาณ 30,000 I.U ต่อวัน หรือมากกว่านี้จะทำให้เป็นอันตราย สำหรับทารกและประมาณ 50,000 I.U ต่อวัน จะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก อาการเริ่มต้นด้วยคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินปัสสาวะมากกว่าปกติ ทั้งกลางวันและกลางคืน กระหายน้ำจัด น้ำหนักตัวลด มีการสลายแคลเซียมออกมาจากกระดูกและมีการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและในปัสสาวะสูง ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีในเลือดอาจไปจับอยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งหลอดเลือดทำให้เป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ในรายที่เป็นมากอาจถึงตาย เพราะมีการล้มเหลวของไต ส่วนในรายที่ยังเป็นไม่มากนัก เพียงหยุดให้วิตามิน อาการต่างๆจะหายไป
อาการที่เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินไป หรืออาการที่จำเป็นต้องสังเกตขณะที่รับประทานวิตามินดี คือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน
เป็นที่น่าสนใจที่เด็กสามารถสร้างวิตามินมากเกินปกติได้ ซึ่งจะพบในเด็กที่ดื่มนมผสม (Fortified Milk) อาการเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนกับยาอื่น ๆ ได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเด็กได้รับวิตามินดี ในขนาดธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้นำให้ทราบว่าเด็กมีแคลเซียมมากในร่างกาย (Hypercalcemia) และวิตามินในร่างกายมากเกินความต้องการแล้ว สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปวดตามข้อ รูมาตอยด์ อาไทรติส (Rheumatoid arthritis) ถ้ารับประทานวิตามิน ดีเกินขนาดทำให้มีแคลเซียมไปเกาะที่ผนังเส้นโลหิตแดง ซึ่งจะทำให้ไตปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นปกติ และทำให้ความดันโลหิตสูงด้วย
นายแพทย์ Arthur A.Knapp ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตา ชาวอเมริกา ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับวิตามินดี กับตา บอกว่าการที่คนได้รับวิตามิน ดีไม่พอจะทำให้เกิดสายตาสั้น (MYOPIA) และจุดใหญ่แล้วเนื่องจากความไม่สมดุลของแคลเซียม


วิตามินอี
วิตามินอี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้

ประโยชน์
เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย

แหล่งวิตามินอี
วิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก

ร่างกายคนเราต้องกรวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU

อันตรายจากการขาดวิตามินอี
โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสารที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย การขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
ก่อให้เกิดก้อนเลือดและที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้
ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่เคลอดก่อนกำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความเสียหาบต่อระบบประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้
เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินอีมากเกินไป
การได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง หากร่างกายได้รับวิตามินอีสูงมากอาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอซึ่งส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า


วิตามินเค
วิตามินเค (Vitamin K) เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์
และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ
เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ

หน้าที่
วิตามินเค มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
ร่างกายใช้วิตามินเคในกระบวนการเติมหมู่คาร์บอกซิลหลังการแปลรหัสอาร์เอ็นเอเป็นโปรตีน (posttranslational carboxylation) ของกรดกลูตามิก (glutamic acid) ซึ่งจำเป็นต่อการจับกับแคลเซียมของโปรตีน
ที่มีหมู่คาร์บอกซิลในตำแหน่งแกมมา (?-carboxylated proteins) เช่น โปรธรอมบิน หรือ แฟคเตอร์ II (prothrombin or factor II) , แฟคเตอร์ VII, IX และ X (factors VII, IX and X) ,
ปรตีนซี (protein C) , โปรตีนเอส (protein S) และโปรตีนอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบของกระดูก

ยาในกลุ่มวอร์ฟาริน (Warfarin) จะขัดขวางกระบวนการนี้ ทำให้วิตามินเคไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นไฮโดรควิโนน (hydroquinone) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้


แหล่งที่พบ
วิตามินเคพบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และลูกแพร์

ปริมาณที่ร่างกายต้องการ คือ 100 ไมโครกรัมต่อวัน


ภาวะขาดวิตามินเค
อาการที่แสดงถึง ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกระโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด
ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย

สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง

การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC

การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์


ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ
ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ (Hypervitaminosis K) คือ การได้รับวิตามินเคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะบิลิรูบินในเลือดต่ำในทารกได้


ข้อมูลจาก:


ชีวจิต

1 ความคิดเห็น: