วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (ศรัทธาจริต)
1.ศรัทธาจริต…เชื่อมั่นว่าตัวเองมีหลักการอุดมการณ์ คิดว่าตนเองเป็นคนดีน่าศรัทธาประเสริฐมากกว่าพุทธิ เพราะคิดอย่างมีหลักการและพูดอย่างมีหลักการตลอด แต่คนที่มีศรัทธาจริตพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นคนมีปัญญาต่ำ เพราะมีความเชื่ออย่างรุนแรงว่าจะเป็นอย่างนั้น และจะไม่ยอมรับความคิดของคนอื่น หากคนอื่นมีความคิดแตกต่างจากเราก็ไม่ยอมรับ ไม่ได้พิจารณาเหตุผล ไม่พิจารณา ต้องคิดถึงหลักกาลามสูตร อย่าเชือเพราะตามกันมา อย่าเชื่อเพราะเป็นศาสดา อย่าเชื่อเพราะเป็นครูบาอาจารย์ อย่าเชื่อเพราะเห็นว่ามีเหตุมีผลสอดคล้องกับความคิดของเรา โดยธรรมชาติเวลาเราสั่งสอนคนก็อยากให้คนอื่นเชื่อ คนพูดก็ให้รับฟังก่อน แต่หลังจากนั้น ให้ดูเหตุดูผล ตามสติปัญญาอำนวย พิจารณาให้เต็มที่ ถ้าเชื่อคนก็ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนไม่รู้จักประนีประนอม ความจริงมีอยู่หนึ่งเดียว คนไม่เห็นด้วยเป็นฝ่ายผิด ทำให้คนมีศรัทธาไม่มีเมตรา เพราะคนมีความคิดไม่ตรงกันเราเป็นคนเลว ศรัทธาแรงๆ จะแยกแยะขาวดำ ไม่มีสีเทา คนคิดไม่เหมือนกันจะเอาเป็นเอาตายมักจะทำกิจการโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา จะต่อต้านการทำแท้งโดยใช้ระเบิดบอมม์มีจุดบวก ถ้ามีพุทธิด้วยจะเป็นพลังที่แรง แต่ถ้าไม่มีก็เหมือนมีเครื่องแรง แต่อาจวิ่งไปในทางผิดได้
หากมีเจ้านายเป็นศรัทธาจริตมีกฏมระเบียบมากมาย เช่นต้องมาตรงเวลา แต่ตอนเย็นอาจอยู่ช่วย เอารัดเอาเปรียบพร้อมลงโทษด้วยความรวดเร็ว โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ไม่มีความเมตตา
ถ้าลูกน้องเป็นศรัทธาจริตเป็นบุญ เพราะตั้งใจทำงาน อยากเป็นคนดี อยากเป็นลูกน้องที่ดี มีคาวมเคารพเจ้านาย แต่อาจไม่ยอมรับคำตำหนิเพราะคิดว่าตัวเองดี และการที่คิดว่าตัวเองดีจึงชอบตัดสินคนรองข้างและวิพากวิจารณ์ หากคิดไม่เหมือนก็มองว่าเป็นคนเลวขอบคุณ: www.drboonchai.com

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (พุทธิจริต)
2.พุทธิจริตจะเรียนรู้เร็ว พูดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ตัวกูของกูไม่สูงต่ำกว่าวิตก พร้อมจะรับความคิดเห็นเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นสูงขึ้น จึงยอมรับความคิดใหม่ซึ่งมีเหตุผล จิตปักอยู่ในเหตุผลจึงตรงประเด็น ไม่เอาเปรียบ มีความเมตราท่วมจิต เพราะคิดตามความเป็นจริง และไม่คิดในทางลบ ต้องการพัฒนาขัดเกลาจิตใจ ตลอดเวลา จึงเห็นปัญหาและทางแก้ เมื่อเห็นผู้อื่นจึงเกิดความเมตราไปด้วย ในคนพูดเต็มไปด้วยสติและปัญญา แตกต่างวิตกที่พูดแยะทำแยะแต่ผิดๆถูก เป็นคนที่เชื่อถือได้หน้าตาผ่องใส แตกต่างกับวิตกเพราะฟุ้งซ่านจึงเหี่ยวย่นเหนื่อยอเน็จอนารถ พุทธิจึงหน้าไม่ทุกข์มีสมาธิเข็มแข็ง มองโลกตามความเป็นจริง มีพลังซึ่งแตกต่างจากโมหะซึ่งไม่เบิกบาน เศร้า ถึงเวลาพูดก็ไม่พูด ไม่มีพลังตา สว่างไสว รู้ โทสะ ตาแข็งโปน เป็นประกายแห่งความเหี้ยมดุ โมหะ ตาเยิ้มแต่เศร้า ราคะจะเปล่งปลั่ง วิตกตาจะหลอก แหลกจะรู้จักสังเกตุสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นสีหน้า เพื่อที่จะปรับความคิด การพูด การกระทำของตัวเอง หาได้ลำบากในสังคมเป็นกัลยาณมิตร ต้องการให้คนอื่นก้าวหน้า คบคนประเภทก็เป็นคนประเภทนั้น ควรคบคนที่สูงกว่าดีกว่าเรา ถ้าเลือกได้ แต่การให้ความช่วยเหลือต้องให้กับทุกคน การให้ความช่วยเหลือต้องทำโดยไม่ให้ตัวเองเดือนร้อน หากเรามีกำลังจิตไม่พอจะถูกครอบหงำโดยคนรอบข้างน้อยคนที่จะเป็นเพราะต้องมีเหตุผล ต้องมีพลังศรัทธาตามด้วย ความอยากที่จะรู้ จิตใจเป็นอย่างไรถ้านายเป็นควรทำงานด้วย เพราะชอบแนะนำชอบสอน ไม่ได้ตำหนิ เปิดให้ก้าวหน้าพัฒนา และพึ่งพาได้ และสามารถช่วยเหลือได้ เพราะเป็นคนมีธรรม [...]

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (วิตกจริต)
3.วิตกจริต…ลักษณะพื้นฐานคือ พูดไม่หยุด ประเภทน้ำไหลไฟดับ ชอบแสดงความคิดเห็น มีคำถามเยอะแยะไปหมด เพราะได้ยินเสียงพูดตลอดเวลา สมองเต็มไปด้วยความคิด ฟุ้งซาน สับสนวุ่นวาย มีหลายความคิดซ้อนกันอยู่ แต่มักสรุปประเด็นสำคัญหรือจัดระบบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปมักมองว่า คนที่วิตกจริตมีปัญญาสูงเพราะเป็นคนที่สามารถคิดได้เร็ว พูดได้มาก ประเด็นเต็มไปหมด ฟังเผินๆ แล้วน่าประทับใจถ้าไม่คิดอะไรมากวิตกไม่สามารถหยุดความคิดของตัวเองได้ และไม่สามารถเลือกว่าจะคิดอะไรได้ การคิดมักจะย้ำคิดในทางลบ มองโลกในแง่ร้าย มักคิดว่าโลกชั่วร้าย คนอื่นจะพยายามเอารัดเอาเปรียบตัวเอง ไม่สามารถเชื่อใจใครได้ มักคิดในทางลบ เช่น การคิดอิจฉา คิดเรื่องต่างๆ ในแง่ไม่ดี และความคิดดังกล่าวจะผุดขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นการย้ำคิดในทางลบ คนที่เป็นจริตอื่นๆ อาจไม่เข้าใจว่าคิดไปทำไม แต่ผู้เป็นวิตกจริตไม่อาจปิดความคิด เหมือนอยู่ในน้ำทะเลโดนคลื่นกระชากไปเรื่อยหน้าตาปกติจะบึ้ง ยิ้มไม่ออก ไม่มีความรู้สึก แต่มีอารมณ์รุนแรง คำพูดจะรุนแรง เพราะอยู่ในความคิด เช่นเวลาวิจารณ์คนมักใช้คำพูดรุนแรงทำให้คนชอกช้ำเกิดกรรมเวร คนทั่วไปมักไม่ค่อยชอบหน้า และมักถูกทำร้ายทางกายวาจาและใจ เป็นการย้ำการมองว่าโลกชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น และจะเป็นคนร้อนรุม แต่ในอีกด้านหนึ่งการพูดมาก คิดมาก ใช้พลังงานทำให้ดูเหนื่อยโทรมคนที่เป็นวิตกจริตจะมีปากกับใจไม่ตรงกัน เวลาพูดนัยน์ตาจะกรอกไปกรอกมา พูดอย่างคิดอย่าง และยังไม่ค่อยชอบรักษาสัญญา เพราะมีความคิดแยะผุดขึ้นมาตลอด คิดกลับไปกลับมา ประกอบกับมีอัตตาสูง มักกลัวเสียเปรียบ [...]

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (ราคะจริต)
4.ราคะจริต…คนที่มีลักษณะราคะจริตจะเป็นผู้ที่ชอบรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นคนจิตประณีตละเอียดอ่อน จิตจะเกาะอยู่ในสัมผัสทั้งห้าอยู่ตลอดเวลาเป็นคนที่ชอบในเรื่องของรูป ลักษณ์ จะเป็นคนแต่งตัวเก่งออกมาดูสวยงาม ดูเก๋และเท่ น่าชวนมองชวนดู เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีบุคลิกดี มีมาด เพราะมีสติค่อนข้างสูง จึงสามารถควบคุมอิริยาบถของร่างกายตัวเองได้ค่อนข้างถ้วน อย่างเช่น ถ้ายืนอยู่ ก็จะรู้ว่าจะต้องวางตำแหน่งเท้าเช่นไร ตำแหน่งมือจะสูงต่ำมากน้อยแค่ไหน หลังต้องเหยียดตรง จะยิ้มประมาณไหนถึงจะออกมาดูดี จะออกมาดูน่ารัก และดูมีมาดในทางกลับกัน ก็จะชอบคนที่มีบุคลิกดีเป็นสิ่งสำคัญ ชอบความสวยงามของสิ่งของ และสถานที่ จะชอบไปสถานที่ที่สวยงามและหรูหรา ส่วนจะมีสาระหรือประเทืองปัญญาหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ พยายามหลีกเลี่ยงความสกปรกความไม่สวยงามของรูปลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสถาน ที่แต่คนกลุ่มนี้มักสติหลุดควบคุมจิตใจไม่ค่อยได้มากกว่าจริตอื่นๆ หากไปเจอเพศตรงข้ามที่มีรูปลักษณ์ดี จะมีอาการยิ้มหวาน ตาเยิ้ม หรือไม่ก็มีจริตจะก้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัดเวลาพูดก็จะสามารถควบคุมน้ำ เสียงให้ออกมาไพเราะนุ่มนวล ที่สำคัญคือ คำพูดที่ออกมาจะเต็มไปด้วยมธุรสพจนา มีคำหวานหูเต็มไปไปหมด ระมัดระวังคำพูดมาก จะหลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำร้ายความรู้สึกคน สามารถพูดออกมาได้หวานแต่ใจอาจคิดอีกอย่างได้เป็นนิสัย ในขณะเดียวกันชอบคำพูดหวานหูเช่นเดียวกัน ชอบคำพูดเอาอกเอาใจ จะจริงใจหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้ได้ยินคำหวานเอาไว้ก่อน สิ่งที่คนในจริตนี้ทนไม่ได้คือ คำพูดเสียงดัง ตะคอก หยาบ ซึ่งได้ยินแล้วหัวใจเสมือนจะแตกสลาย พร้อมจะสู้ตายเป็นคนชอบแสวงหา ของอร่อยทาน ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกลแค่ไหนก็จะต้องไปแสวงหามาทาน [...]

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โมหะจริต)
5.โมหะจริตคนที่มีลักษณะโมหะจริตจะเป็นคนที่ง่วง ๆ ซึมๆ ประเภทง่วงเหงางาวนอนเป็นอาจิณ อ่านหนังสือหรือฟังบรรยายประเดี๋ยวเดียวก็ตาปรอยหรือหลับไปเลย เป็นคนซึมๆ งงๆ ไม่รู้จะทำอะไร ปกติจะไม่ชอบทำอะไรถ้าไม่มีใครหรือสถานการณ์มาบังคับ ชอบนั่งเฉยๆอารมณ์พื้นฐานคือความเบื่อและความเซ็ง ทำอะไรรู้สึกว่ายากไปหมด รู้สึกเกินความสามารถ แต่ตัวเองก็มักใช้ความพยายามน้อย เพราะมีสมาธิค่อนข้างต่ำ พลังเลยไม่ค่อยมี ทำอะไรจะรู้สึกว่าเบื่อก่อนที่งานนั้นจะเสร็จ และลึกๆ จะมีความเศร้าอยู่ในใจ เพราะมักคิดถึงตัวเองในทางไม่ดีอยู่เสมอ มักจะคิดว่าตัวไม่มีคุณค่า น้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกตัวเองต่ำต้อย ไร้ความสามารถ ไร้วาสนา เป็นคนที่น่าสงสารตรงที่ได้วางโปรแกรมที่ทำลายตัวเองไว้ในความคิดตั้งแต่ต้นคนที่เป็นโมหะจริตมักจะมองเข้าข้างใน ไม่ค่อยมองออกข้างนอก คือ ถ้าจะคิด มักจะนึกคิดเฉพาะเรื่องของตัวเอง กลุ้มใจกับเรื่องของตัวเอง เสียใจกับปัญหาของตัวเอง จนแทบไม่ได้คิดว่าคนอื่นเขามีปัญหาอะไรบ้าง จะช่วยเขาได้อย่างไร การที่หมกหมุ่นกับเฉพาะเรื่องตัวเองทำให้คนที่เป็นโมหะจริตดูเหมือนจะมีจิตใจค่อนข้างคับแคบ และไม่ค่อยสนใจโลก ไม่สนใจคนอื่นๆ มากนัก การที่สนใจเฉพาะปัญหาตัวเองทำให้ไม่ได้มีเป้าหมายชีวิตอะไรที่สูงส่งมากนัก ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอะไรเพื่อผู้อื่นผู้สังคม ทำให้แรงขับเคลื่อนพลอยต่ำลงไปด้วยแต่เป็นคนดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม เพราะไม่คิดอิจฉาริษยาใคร ไม่คิดทำร้ายใคร ไม่คิดจะทำให้ใครเดือนร้อน ที่จริงแล้วไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือเปลี่ยนแปลงใครอยู่แล้วด้วยซ้ำ และตัวเองมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดี แต่ก็ไม่เข้าใจว่า การที่เป็นคนดีจึงไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จ ทำให้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกไร้โชคไร้วาสนาอยู่ในใจลึกๆเป็นคนที่อยู่ในสมองด้านขวา ชอบสบายๆ ไม่ชอบคิดอะไรอย่างเป็นระบบ ละเอียด ซับซ้อน [...]

จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน (โทสะจริต)
และ 6.โทสะจริตหากเราเป็นโทสะจริตคนที่อยู่กลุ่มโทสะจริต หรือมีสภาวะอารมณ์เป็นอารมณ์โกรธ คนที่อยู่ในกลุ่มนี้โดยธรรมชาติแล้วเป็นบุคคลผู้มีหลักการของตนเองในการทำงานและในการกระทำต่างๆ และมักเป็นผู้เคารพกฎเกณฑ์และมีวินัยสูงกว่าจริตอื่นๆ และการที่ตัวเองมีหลักเกณฑ์ ระเบียบวินัยค่อนข้างสูง จึงทำให้ทนไม่ได้เมื่อมาเจอผู้ที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีเคารพหลักเกณฑ์ นอกจากนี้จะเป็นคนที่รักษาคำพูดรักษาเวลา จึงทำให้ทนไม่ได้มาเมื่อกับคนที่ไม่รักษาคำพูดไม่รักษาเวลากลุ่มโทสะจริตมักคาดหวังว่าโลกจะเป็นอย่างที่ตัวเอง และจากการที่ตัวเองมักจะมีระเบียบวินัยสูงกว่าคนปกติ ก็มักจะคิดว่าโลกควรจะเปลี่ยนไปเหมือนตัวเอง แต่เมื่อพบว่าโลกไม่ได้เป็นอย่างนั้น และไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ ก็เกิดความขุ่นเคืองลึกๆ อยู่ในใจอยู่เสมอ และพร้อมจะระเบิดออกมาได้เมื่อเจอกับผู้ที่ไม่มีความเป็นระเบียบวินัย หรือความไม่ถูกต้องการที่ยึดมั่นในหลักการและกฏเกณฑ์ต่างมากกว่าคนอื่นๆ ทำให้เป็นคนตรงไปตรงมา ทำให้บุคคลที่เป็นโทสะจริงมีสมาธิแรงมาก แต่ในทางกลับคนที่มีพื้นฐานจิตเป็นโทสะจริตมักมีสติค่อนข้างอ่อน เพราะไม่ได้ดูโลกตามความเป็นจริง ไม่ได้ดูว่าคนอื่นเขาคิดอย่างไร แตกต่างกันเราอย่างไร อันที่จริงแล้วคนกลุ่มก็แทบไม่สนใจดูคนอื่นหรือดูโลกเท่าไรเลย เพราะคิดว่าโลกหรือทุกคนควรจะเปลี่ยนตัวเองไปตามหลักการหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง นั้นคือ ทุกคนควรมีวินัย ควรตรงต่อเวลา ควรเคารพกฏเกณฑ์ โลกของกลุ่มโทสะจริตเป็นโลกที่ควรจะเป็น ไม่ใช่เป็นโลกที่เป็นอยู่จริง คนที่ไม่สามารถทำได้จะถูกดูว่าไม่มีความสามารถ [...]

…หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แต่งได้ดีมาก ผู้แต่งสามารถบรรยายหลักธรรมออกมาได้อย่างชัดเจนและเรียบง่ายบนพื้นฐานของการใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นอมตะ Best Seller เพราะปัจจุบันพิมพ์ครั้งที่ 20 กว่าแล้ว (ตอนที่ผมอ่านพิมพ์ครั้งที่ 20 พอดี) เป็นหนังสือดีที่ควรค่าแ่ก่การซื้อหามาอ่านครับ…บทความนี้ผมนำมาจากบทคัดย่อที่เผยแพร่ผ่านทางเว็ปไซท์ของผู้แต่ง 1ใน 2 ท่านที่แต่งหนังสือเล่มนี้คือ ดร.บุญชัย โกศลธนากุล จากเว็ปไซท์ www.drboonchai.com

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นหนังสือคลาสสิก ที่อ่านแล้วเหมือนกำลังสัมผัสผ้าไหมที่ถักทอมาอย่างดี เรียบลื่น และเป็นประกาย เป็นหนังสือที่ดีมากมาก

    ตอบลบ