วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โรคของหนุ่มสาวออฟฟิศพึงระวัง

หมอนรองกระดูก, เอ็นยึดระหว่างกระดูก, เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ อาการปวดคอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนทํางานจากกิจวัตรประจําวันและการทํางานทําให้มีการเคลื่อนไหวในส่วนของคอมาก อาจทําให้มีอาการปวดคอ ซึ่งถ้าดูแลรักษาและปฏิบัติตนไม่ถูกวิธีจะทําให้อาการปวดคอรุนแรงมากขึ้น

สาเหตุของการปวดคอ...
1.กระดูกต้นคอเสื่อมเป็นผลจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานหนักในบางอาชีพ
2. การบาดเจ็บที่บริเวณคอ เช่น กระดูกคอหัก, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, เอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อต่ออักเสบ3. จากการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์
4.อิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะ

อาการที่พบ....
- มีอาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะหรือท้ายทอย
- ปวดคออาจร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงบ่า หัวไหล่ แขน สะบัก
- มีอาการชาที่แขนหรือนิ้วมือ และอาจพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วย
- คอเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ และมีอาการเจ็บร่วมด้วย
- บางครั้งอาจพบจุดกดเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นคอและบ่า

การรักษา....
1.การรักษาทางยาเพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด
2.การรักษาทางกายภาพบําบัดใช้ร่วมกับการรักษาทางยา
2.1 การประคบด้วยความร้อนหรือเย็นบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่ปวด
2.2 การรักษาโดยใช้เครื่องมือที่ทําให้เกิดความร้อนลึก เช่น ultrasound, shortwave diathermy
2.3 การดึงคอ เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทคอ และลดอาการเกร็งของต้นคอ
2.4 การบริหารคออย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับสภาพของอาการที่เป็นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ
2.5 การใช้เครื่องมือทางกายภาพบําบัดแต่ละชนิดพิจารณาจากสาเหตุและความรุนแรงของอาการปวดคอ

3.การผ่าตัด เมื่อรักษาทางยา และกายภาพบําบัดไม่ได้ผล หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทําให้เกิดอาการปวดคอ เช่น ไม่นอนหมอนสูงเกินไป, ไม่สะบัดคอแรงๆ เพื่อแก้ความเมื่อย, ไม่เกร็งคอทํางานในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ, จัดอุปกรณ์ในการทํางานเช่น โต๊ะ, เก้าอี้, computer ให้เหมาะสมกับลักษณะรูปร่างของคนทํางานไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป

[ ที่มา ]
ข้อมูลจาก Group :: CITYLIFE :: www.daradaily.com เว็บแรกสู่โลกดารา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น